วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีเชิงสถานการณ์

ทฤษฎีเชิงสถานการณ์  Fiedler’s Leadership Contingency Theory
แนวความคิด
ในปี 1967 Fred E. Fiedler ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับ  สภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด หากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้วิธีการบริหารแบบใดในสภาวการณ์นั้นๆ หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์นั้น  ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์  สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ในการเลือกรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด ยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์  มีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ
การบริหารเชิงสถานการณ์จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย โดยเน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร หรือความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น
หลักการของการบริหารเชิงสถานการณ์
1.  การบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
2.  ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
3.  เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด ยอมรับหลักการของทฤษฎี
                             ทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์  และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
4.  สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ในการเลือกรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
5.  คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหา
                            วิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
                                6. เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น
                                   6.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล
                                   6.2  ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน
                                   6.3  ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร
                                    6.4  ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ  
แนวความคิดทางการบริหารเชิงสถานการณ์ ตามทฤษฎีของ Fiedler ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน  2 ลักษณะดังนี้
1. การศึกษารูปแบบของผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์ (Relationship-oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ผู้นำจะสร้างความไว้วางใจ ความเคารพนับถือ และรับฟังความต้องการของพนักงาน เป็นผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก (Consideration)
2.  ผู้นำที่มุ่งงาน (Task -oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสำเร็จในงาน ซึ่งจะกำหนดทิศทางและมาตรฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน มีลักษณะคล้ายกับผู้นำแบบที่คำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก (Initiating structure style)
การบริหารเชิงสถานการณ์ สามารถใช้ทุกทฤษฎีมาประกอบกับประสบการณ์ เพื่อทำให้การตัดสินใจดีที่สุด โดยเฉพาะในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูงเช่นปัจจุบัน นับเป็นความท้าทายและโอกาสในการใช้การบริหารเชิงสถานการณ์ในมุมของผู้บริหารที่จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสให้ได้ เป็นการใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์ต่างๆที่มีอยู่ในตัวผู้นำท่านนั้นให้ประจักษ์ออกมาใช้ได้อย่างเต็มสมรรถภาพจริงๆที่เขามีอยู่ เพราะสถานการณ์แต่ละอย่างแตกต่างกัน ทฤษฎีกับบางสถานการณ์ก็แตกต่างกัน แล้วแต่ผู้นำแต่ละท่านจะเลือกใช้ ดังนั้นการบริหารเชิงสถานการณ์ น่าจะเป็นการใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์
 
สรุปโดย   นายรักไทย   แบบอย่าง    นักศึกษาปริญญาโท  สาขาบริหารการศึกษา  รุ่นที่ 3
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
 

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปัจฉิมนิเทศ


                     15  มีนาคม 2554  โรงเรียนธาตุศรีนครจัดกิจกรรมปัจฉิมเทศนักเรียน ม. 3 - ม.6  เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจ เป็นการแสดงความรักความผูกพันที่มีต่อกันทั้งครูและนักเรียน   รวมทั้งแนะนำแนวทางในการดำเนินชีวิตหลังจากจบการศึกษา  บรรยากาศเต็มไปด้วยซาบซึ้ง

ทัศนศึกษา


                    11  กุมภาพันธ์  2554  คณะครูโรงเรียนธาตุศรีนคร ได้นำนักเรียนไปทัศนศึกษา ตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ  ณ ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ จังหวัดศรีสะเกษ  ส่งผลให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา

กิจกรรมวันมาฆบูชา


         18  กุมภาพันธ์ 2554  ท่านผู้อำนวยการ สุรพงศ์  ปรากฎรัตน์ ได้นำคณะครูและนักเรียนโรงเรียนธาตุศรีนคร ร่วมทำบุญและเวียนเทียน เนื่องในวันมาฆบูชา ที่วัดโพธิ์ศรีธาตุ ต.ธาตุ อ. รัตนบุรี  จ. สุรินทร์  เพื่อแสดงออกถึงการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี  เราต่างอิ่มเอิบใจที่ได้ร่วมทำบุญ สร้างกุศลในครั้งนี้อย่างทั่วกันทั้งครูและนักเรียน  

สรุปหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕0  และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช  ๒๕๔๒  และแก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕
อาศัยอำนาจตามความมาตรา  ๑๒  และมาตรา  ๑๕  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ  พ.ศ. ๒๕๔๖ และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีมติเห็นชอบให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑
โรงเรียนต้นแบบ
1.  ปีการศึกษา  2552  ให้ใช้หลักสูตร  ในชั้น ป.1-6  และ ม.1 และ 4
2.  ปีการศึกษา  2553  ให้ใช้หลักสูตร  ในชั้น ป.1-6  และ ม.1 , ม.2  และ ม.4 , ม.5
3.  ปีการศึกษา  2554  เป็นต้นไป  ใช้ครบทุกชั้นเรียน
โรงเรียนทั่วไป
1.  ปีการศึกษา  2553 ให้ใช้หลักสูตร  ในชั้น ป.1-6  และ ม.1 และ 4
2.  ปีการศึกษา  2554  ให้ใช้หลักสูตร  ในชั้น ป.1-6  และ ม.1,ม.2  และ ม.4 , ม.5
3.  ปีการศึกษา  2555   เป็นต้นไปใช้ครบทุกชั้นเรียน
หลักการมี  6 ข้อ   
จุดหมายมี 5 ข้อ 
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  มี  5  ประการดังนี้
1.  ความสามารถในการสื่อสาร   
2.  ความสมารถในการคิด
3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 
5.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์   มุ่งพัฒนาผู้เรียน  เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก มี 8 ข้อ
มาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่า 
1.  ต้องการอะไร
2.  ต้องสอนอะไร 
3.  จะสอนอย่างไร
4.  ประเมินอย่างไร 

รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายใน  และการประเมินคุณภาพภายนอก   รวมถึงการทดสอบระดับเขตพื้นที่  และการทดสอบระดับชาติ
ตัวชี้วัด   
1.  ตัวชี้วัดชั้นปี   เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ป.1- ม.3)  
 2.  ตัวชี้วัดช่วงชั้น  เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - ม.6)  
โครงสร้างเวลาเรียน    รวมเวลาเรียนทั้งหมด
 1.  ระดับประถมศึกษา ไม่เกิน 1,000  ชม./ปี จัดเวลาเรียนเป็นรายปีโดยมีเวลาเรียนวันละไม่เกิน 5 ชม.
 2.  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ไม่เกิน 1,200  ชม./ปีจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค  โดยมีเวลาเรียนวันละไม่  
       เกิน 6  ชม.
3.  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  รวม 3 ปี  ไม่น้อยกว่า 3,600 ชม.  จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค  โดยมี
       เวลาเรียนวันละไม่น้อยกว่า  6  ชม. ใช้เกณฑ์  40  ชม./ภาคเรียน  มีค่าน้ำหนักวิชา  1  หน่วยกิต
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1.  ประถมศึกษาปีที่ 1- ถึง  มัธยมศึกษาปีที่ 3   ปีละ  120  ชม.
2.  มัธยมศึกษาปีที่ 4- 6   จำนวน  360  ชม.  นั้นเป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว   
กิจกรรมนักเรียน  และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์  ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์   ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมดังนี้
  - ระดับประถมศึกษา  (ป.1-6)  รวม  6  ปี  จำนวน  60  ชั่วโมง
  - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  (ม.1-3)  รวม  3  ปี  จำนวน  45  ชั่วโมง
  - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6)  รวม  3  ปี  จำนวน  60  ชั่วโมง
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้  แบ่งออกเป็น  4   ระดับ  ได้แก่
1.  ประเมินระดับชั้นเรียน  อยู่ในกระบวนการเรียนรู้  ดำเนินการเป็นปกติ  เช่น  ซักถาม  การบ้าน 
      ชิ้นงาน  แฟ้ม
2.  ประเมินระดับสถานศึกษา  ตรวจสอบผลการเรียนเป็นรายปี/ภาค  ประเมิน เช่น  อ่าน  คิด วิเคราะห์   
     คุณลักษณะอันพึงประสงค์  ว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ตามเป้าหมายหรือไม่  เปรียบเทียบกับเกณฑ์
     ระดับชาติ  และระดับเขต
3.  การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา  ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4.  การประเมินระดับชาติ  ให้ ป.3, ป.6, ม.3, ม.6  เข้ารับการประเมิน  ผลการประเมินใช้เป็นข้อมูล
     ในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่างๆเพื่อวางแผนยกระดับการศึกษา
…………………
ที่มา
ณัฐฑิตา - natthita-eti5301
เรียบเรียง
                โดย...นายรักไทย   แบบอย่าง